วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 8 การตกแต่งพื้นหลังและการสร้าง Template

การใส่สีสันลงในสไลด์นั้นมีความคล้ายกับงานศิลป์อยู่บ้าง  เพราะสไลด์ที่สวยงามดุจดังภาพวาดนั้น  ย่อมเป็นที่ดึงดูดความน่าสนใจจากผู้ชมการบรรยายได้เป็นอย่างดี  จึงไม่ควรมองข้ามเรื่องนี้  และสำหรับ  PowerPoint  การสร้างสไลด์สวยๆ  นั้นทำได้ไม่ยาก  เพราะมีคำสั่งและเครื่องมือมากมายที่ช่วยเรื่องนี้โดยเฉพาะ  ต่อจากนี้ไปจะเป็นขั้นตอนการตกแต่งพื้นหลังของงานสไลด์  เพื่อให้งานสไลด์ออกมาดูสวยงาม
8.1  การเปลี่ยนพื้นหลังสไลด์
                ในการสร้างสไลด์ด้วย  Template หรือการสร้างด้วย  AutoContent Wizard  สังเกตได้ว่าสีที่ใช้ตกแต่งนั้นดูกลมกลืนสวยงาม  ทั้งนี้เนื่องจากการใช้สีในส่วนต่างๆ  ของสไลด์ได้ถูกออกแบบโดยผู้ชำนาญงานด้านศิลปะโดเฉพาะ  Template  และสไลด์เปล่า
·         การใส่สี  หรือ  ไล่โทนสี  ในพื้นหลัง
·         การใส่  Texture (พื้นผิว)  ในพื้นหลัง
·         การใส่  Pattern  (ลวดลาย)  ในพื้นหลัง
·         การใส่  Picture  (ภาพ)   ในพื้นหลัง
8.2  การเปลี่ยนสี  หรือการไล่โทนสี  ในพื้นหลัง
                สามารถเปลี่ยนสีที่พื้นหลังสไลด์ได้  เช่น  เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีอื่น  หรือต้องการเน้นข้อความในสไลด์โดยเปลี่ยนมาใช้สีพื้นอ่อนแทนสีเข้ม
1.       Click  mouse  ปุ่มขวาบริเวณที่ว่างในสไลด์  แล้วเลือก  Background  (พื้นหลัง)
2.       Click  mouse  ที่ปุ่มแถบสี  จะแสดงสีต่างๆ  ในรายการให้เลือก
3.       Click  mouse  เลือกสีตามต้องการ
4.       ถ้าพื้นหลังของสไลด์นี้มีลวดลายที่มาจากการใช้  Template  สามารถยกเลิกลวดลายนั้นได้โดย  Click  mouse  ให้มีเครื่องหมายถูกในช่อง  Omit  background graphics from master  (ไม่ใช้พื้นหลังกราฟฟิกจากต้นแบบ)  มิฉะนั้นสีพื้นที่เลือกไว้จะถูกรองพื้นบนลวดลายของ  Template
5.       Click  mouse  ปุ่ม  Apply  to  All  สำหรับเปลี่ยนสีพื้นสไลด์ทุกๆ  แผ่น  หรือ  Click  mouse  ปุ่ม  Apply   สำหรับเปลี่ยนสีพื้นเฉพาะสไลด์แผ่นที่กำลังทำงานอยู่
6.       สไลด์จะมีพื้นหลังตามที่ได้กำหนดไว้
8.3  การใส่เอฟเฟคให้กับพื้นหลังสไลด์                    
                นอกจากการใช้สีพื้นแล้วยังสามารถไล่โทนสีพื้นหลังให้ดูพิเศษแปลกตามากขึ้น  หรือจะกำหนดลวดลายให้กับพื้นหลังสไลด์ได้  โดยหลังจากขั้นตอนที่2  ให้เลือกคำสั่ง  Fill Effects  (เติมลักษณะพิเศษ)  จะพบกับหน้าจอที่มีแท็บต่างๆ  ดังนี้
                                Gradient              ไล่โทนสี
                                Texture                                กำหนดพื้นผิว
                                Pattern                 กำหนดลวดลาย
                                Picture                 ใช้ภาพเป็นพื้นหลัง
1.  ไล่โทนสีพื้นหลังของสไลด์  (Gradient)
                เมื่อ  Click  mouse  แท็บ  Gradient  (ไล่ระดับสี)  จะเป็นการกำหนดให้ไล่สีพื้นหลังของสไลด์  ซึ่งมีรายละเอียดที่กำหนดได้ดังนี้
                ในช่อง  Colors  สามารถกำหนดจำนวนสีที่จะใช้ได้โดย  Click  mouse  เลือก
                One  Color  (สีเดียว)  ใช้สีเดียวไล่โทน  โดยกำหนดสีที่จะใช้ได้ในช่อง  Color  (สี)  และความเข้มของสีได้จากแถบเลื่อน
Two  Color  (สองสี)  ใช้สองสีในการไล่โทนสีที่ใช้ในช่อง  Color 1  (สี 1)  และสีที่สองในช่อง  Color 2  (สี 2)
Presets  (สีที่กำหนดไว้)  ใช้ชุดสีที่  PowerPoint  กำหนดไว้  ให้ลองเลือกชื่อชุดสีได้จากช่อง  Preset  Color  (สีที่กำหนดไว้)  และลองดูผลลัพธ์ที่ได้ในช่อง  Sample  (ตัวอย่าง)  ก่อนนำมาใช้
Shading   styles  (ลักษณะของการแรเงา)  ให้เลือกลักษณะของการงไล่โทนสีได้ตามต้องการ  โดยจะมีรูปตัวอย่างแสดงผลลัพธ์ให้เห็นในช่อง  Variants  ให้  Click  mouse  เลือกวิธีไล่สีได้ในกรณีที่มีหลายแบบ
เมื่อ  Click  mouse  ปุ่ม  OK  จะเป็นการกลับไปสู่หน้าต่างการทำงานของ  Fill  Effects  (เติมลักษณะพิเศษ)  จะเห็นรูปแบบการไล่โทนสีที่เลือกเอาไว้ในภาพตัวอย่าง
2.  กำหนดสีพื้นผิวสำหรับใช้ตกแต่งพื้นหลังของสไลด์  (Texture)
                นอกจากจะกำหนดสีที่เป็นสีพื้น  และการไล่โทนสีให้เป็นพื้นหลังแล้วยัง  สามารถกำหนดลวดลายให้กับพื้นหลังของสไลด์ได้โดย  Click  mouse  แท็บ  Texture  (พื้นผิว)  ซึ่งมีรายละเอียดที่กำหนดได้ดังนี้
ในแท็บ  Texture  (พื้นผิว)  ให้  Click  mouse  เลือกลักษณะพื้นผิวที่จะใช้ตกแต่งพื้นหลัง  ถ้าต้องการนำรูปอื่นมาใช้ให้  Click  mouse  ปุ่ม  Other  Texture…
                เมื่อ  Click  mouse  ปุ่ม  OK  จะเป็นการกลับไปสู่หน้าต่างการทำงานของ  Fill Effects  (เติมลักษณะพิเศษ)  จะเห็นสไลด์ที่มีพื้นหลังตกแต่งด้วยพื้นผิวที่กำหนด
3.  การใส่ลวดลายในพื้นหลัง  (Pattern)
                การ  Click  mouse  แท็บ  Pattern  (ลวดลาย)  จะเป็นการใส่ลวดลายให้กับพื้นหลลัง  โดยมีลวดลายให้เลือกใช้ได้มากมาย  ในแท็บ  Pattern  ให้  Click  mouse  เลือกสีให้กับ  Pattern  โดยกำหนดทั้งสีพื้นและสีลวดลายของ  Pattern  จากนั้น  Click  mouse  เลือกรูปแบบ  Pattern  ที่ต้องการ
                สุดท้ายให้  Click  mouse  ปุ่ม  OK  จะเป็นการกลับสู่หน้าต่างการทำงานของ  Fill  Effects  (เติมลักษณะพิเศษ)  จะเห็นสไลด์ที่มีพื้นหลังตกแต่งด้วยพื้นผิวที่กำหนด
4.  การใช้รูปภาพเป็นพื้นหลังสไลด์  (Picture)
                นอกจากนี้สามารถนำภาพมาตกแต่งพื้นหลังของสไลด์  โดย  Click  mouse  แท็บ  Picture  (รูปภาพ)  และกำหนดไฟล์ภาพที่จะนำมาใช้ได้  ดังนี้
เมื่อ  Click  mouse  ที่ปุ่ม  Select  Picture…  เพื่อค้นหาไฟล์ที่เป็นรูปภาพซึ่งจะปรากฏ  Select  Picture  ไดอะล็อกบ็อกซ์  เลือกไฟล์ที่ต้องการ  และ  Click  mouse  ปุ่ม  OK  สังเกตภาพตัวอย่างที่แสดงในกรอบ  Picture  เมื่อ  Click  mouse  ปุ่ม  OK  จะเป็นการกลับไปสู่หน้าต่างการทำงานของ  Fill  Effects  จะเห็นสไลด์ที่ทีพื้นหลังตกแต่งด้วยภาพที่เลือก
8.4  ตกแต่งสไลด์ด้วย  Slide Design
            เป็นการตกแต่งสไลด์ด้วยภาพกราฟิก  สี  และรูปแบบข้อความ  ที่ได้ถูกดีไซน์มาเป็นแม่แบบให้เราสามารถเลือกใช้โดยเหมาะกับงานนำเสนอที่ต้องการ  ซึ่งจะเปลี่ยนพื้นหลังของสไลด์หรือจะเปลี่ยนดีไซน์จากแบบที่ใช้อยู่เป็นอีกแบบหนึ่งก็ได้
1.       Click  mouse  ปุ่มขวาบริเวณที่ว่างในสไลด์  แล้วเลือก  Slide  Design  (ออกแบบภาพนิ่ง)  หรือเลือก  Format>slide  Design  จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างงาน  Slide  Design
2.       Click  mouse  เลือกรูปแบบกราฟิกที่ต้องการนำมาใช้
3.       Click  mouse  เลือก  Apply  to  all  sides  สำหรับเปลี่ยนกราฟิกในสไลด์ทุกๆ  แผ่น  หรือ  Click  mouse  เลือก  Apply  to  selected  slides  สำหรับเปลี่ยนกราฟิกเฉพาะสไลด์แผ่นที่กำลังทำงานอยู่
8.5  ตกแต่งสีในสไลด์ด้วย  Color Schemes
                Color Scheme (โครงร่างสี) เป็นการเปลี่ยนสีองค์ประกอบภาพกราฟิก พื้นหลัง และข้อความ ซึ่งโปรแกรมได้ออกแบบไว้แล้วอย่างเหมาะสม นอกจากนั้นถ้าต้องการปรับเปลี่ยนสีประกอบสีใดก็สามารถทำได้ตามต้องการ
1.       Click  mouse  ปุ่มขวาที่สไลด์  แล้วเลือก  Slide  Design  (ออกแบบภาพนิ่ง)  หรือเลือก  Format>Slide  Design
2.       Click  mouse  เลือก  Color  Schemes
3.       Click  mouse  เลือกรูปแบบสีขององค์ประกอบกราฟิกที่ต้องการ
1.       Click  mouse  เลือก  Apply  to  all  sides  สำหรับเปลี่ยนกราฟิกในสไลด์ทุกๆ  แผ่น  หรือ  Click  mouse  เลือก  Apply  to  selected  slides  สำหรับเปลี่ยนกราฟิกเฉพาะสไลด์แผ่นที่กำลังทำงานอยู่
2.       ตัวอย่างสไลด์ที่ได้จะมีสีตามที่กำหนดใน  Color  Scheme  (โครงร่างสี)
กำหนดสีที่ใช้ใน  Color  Schemes  ด้วยตนเอง
                นอกจากการใช้  Color  Schemes  (โครงร่างสี)  ตามที่ต้องการในรายการสามารถกำหนดสีที่ใช้ได้เอง  โดยPowerPoint  จะใช้สีพื้นฐาน  8  สี  สำหรับแต่ละส่วนของสไลด์  ซึ่งได้ถูกนำมาจัดเข้าชุดกันโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้สไลด์ที่ได้ดูสวยงาม
                หลังจากใช้คำสั่ง  Color  Schemes  ให้  Click  mouse  ลิงค์ด้านล่างขวามือของหน้าต่าง  เลือก  Edit  Color  Schemes  จะพบกับรายการสีที่ประกอบกันเป็น  Color  Schemes  ดังนี้
เมื่อใดที่ต้องการเปลี่ยนสีที่ใช้ให้  Click  mouse  เลือกสีที่ต้องการเปลี่ยน  จากนั้น  Click  mouse  ปุ่ม  Change  Color…  ต่อจากนั้นให้  Click  mouse  เลือกสี  ซึ่งจะมีกรอบ  New  แสดงสีที่เลือกใหม่เทียบกับ  กรอบ  Current  ซึ่งแสดงสีเดิมที่อยู่ที่มุมขวาด้านล่างของจอ  หลังจากกำหนดสีแล้วให้  Click  mouse  ปุ่ม  OK  จะกลับสู่หน้าจอ  Color  Scheme  อีกครั้งหนึ่ง
8.6  การสร้าง  Slide  Master
                Slide  Master  เป็นแผ่นสไลด์แม่แบบของสไลด์ทุกๆ  แผ่น  ซึ่งรายละเอียดต่างๆ  ของสไลด์  เช่นพื้นสไลด์  รูปแบบตัวอักษร  และสีของสไลด์ทุกๆ  แผ่น  จะถูกกำหนดให้เหมือนกับสไลด์นี้  การใช้  Slide  Master  จะช่วยอำนวยความสะดวกต่อการทำสไลด์ที่มีลักษณะที่เหมือนๆ  กัน  โดยเมื่อใดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใด  ให้เปลี่ยนได้ที่  Slide  Master  ก็จะมีผลกับสไลด์ที่เหลือทั้งหมด
                การเปลี่ยนแปลงในแผ่น  Slide  Master  จะมีผลกับสไลด์ทุกๆ  แผ่น  แต่ก็สามารถแก้ไขรูปแบบของสไลด์แผ่นอื่นๆ  ให้ตกแต่งจากแผ่น  Slide  Master  ในภายหลังได้  การสร้างสไลด์ต้นฉบับในมุมมอง  Slide  View  สามารถทำได้ดังนี้
1.       เลือกคำสั่ง  View>Master> Slide  Master  (มุมมอง>ต้นแบบ>ต้นแบบภาพนิ่ง)  เป็นสไลด์ต้นแบบ  ในมุมมองภาพนิ่ง
2.       กำหนดรูปแบบทั้งหมดลงในสไลด์ต้นฉบับ  ได้แก่
·     แบบตัวอักษร  ขนาดตัวอักษร
·     เครื่องหมายหน้าข้อความ  (Bullet)
·     สีและลวดลายของพื้นหลังสไลด์
·     รูปภาพหรือโลโก้ที่จะให้แสดงในทุกๆ  สไลด์
·     วัน  เวลา  และเลขหน้าของแต่ละสไลด์
3.       ออกจาก  Slide  Master  โดย  Click  mouse  ปุ่ม  Close  Master  View
8.7  การสร้าง  Template  ไว้ใช้งาน
                นอกจากนำ  Template  ที่มีอยู่แล้วใน  PowerPoint  มาใช้  สามารถสร้าง  Template  ไว้ใช้งานได้เอง  เริ่มโดยสร้างสไลด์และตกแต่งในแบบที่ต้องการ  ตั้งแต่สีพื้นหลังและรูปแบบตัวอักษร  เป็นต้น  จากนั้น  Save  สไลด์นี้ในรูปแบบของ  Template  เพื่อไว้ใช้งานต่อไป
1.       เปิดสไลด์แผ่นที่จะสร้างเป็น  Template
2.       เลือกคำสั่ง  Fill> Save  As   (แฟ้ม>บันทึกเป็น)
3.       ตั้งชื่อ  Template  ลงในกรอบ  File  name  (ชื่อแฟ้ม)
4.       Click  mouse  ที่กรอบ  Save as type  (เก็บเป็นชนิด)  จากนั้นเลือกชนิดของไฟล์ที่จะบันทึกเป็น  Design  Template  เพื่อสั่ง  Save  สไลด์แผ่นนี้เป็น  Template
5.       กำหนดตำแหน่งเก็บสไลด์นี้ในโฟลเดอร์  Template  ซึ่งเป็นที่รวม  Template  ทั้งหมด   เพื่อให้  Template  ปรากฏรวมอยู่กับ  Template  อื่นๆ  ของ  PowerPoint  ทำให้เรียกใช้ได้ง่าย
6.       Click  mouse ปุ่ม  Save
8.8  การเปิด  Template  ที่สร้างไว้มาใช้งาน
            การเปิด  Template  ที่สร้างไว้มาใช้งาน  มีขั้นตอนดังนี้
สรุปท้ายบท
                ในบทนี้ทำให้เราสามารถตกแต่งพื้นหลังของสไลด์  โดยเลือกใช้พื้นหลังแต่ละรูปแบบได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหา  และสามารถสร้างต้นแบบของสไลด์ไว้ใช้ในงานครั้งต่อไป  หรือใช้ร่วมกันในหน่วยงานให้เป็นเอกลักษณ์ที่เหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น