วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดหลังเรียน

Ø      แบบฝึกหัดหลังเรียน  บทที่  6
คำสั่ง   จงทำเครื่องหมายกากบาท (X)  ทับหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของภาพกราฟฟิกแบบ Vector
ก. ภาพที่ได้จากการถ่ายภาพจากกล้องดิจิตอล
ข. ภาพที่ได้จากการสแกนมาจากเครื่องสแกน
ค. ภาพที่ไฟล์ฟอร์แมต .bmp, .cgm, .gif  เป็นต้น
ง. ภาพที่เกิดจากการวาดเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรงเลขาคณิต
2. การปรับแต่งสีโหมดภาพ วิธีใดเป็นการแสดงสีโดยไล่สีจากขาวไปสีดำ
ก. Automatic
ข. Grayscale
ค. Black & White
ง. Watermark
3. การรวมรูปให้เป็นวัตถุเพียงชิ้นเดียวจะต้องเลือกคำสั่งใด
ก. Grouping>Group
ข. Grouping>Ungroup
ค. Grouping>Regroup
ง. Grouping>Order
4. ข้อใดไม่ใช่ การกำหนดลักษณะของเส้นกรอบ
ก. Arrows
ข. Dashed
ค. Style
ง. Weight
5. การแทรกภาพจาก  ClipArt  ต้องเลือกคำสั่งใด
ก. Picture
ข. Edit
ค. Insert
ง. Tools
6.  Grayscale  เป็นการแสดงสีแบบใด
ก. สีปกติ
ข. สีขาว-ดำ
ค. สีจาง
ง. สีโดยไล่สีจากสีขาวไปสีดำ
7.  Black &White  เป็นการแสดงสีแบบใด
ก. สีปกติ
ข. สีขาว-ดำ
ค. สีจาง
ง. สีโดยไล่สีจากสีขาวไปสีดำ
8. งานพรีเซนเตชั่นกับ  Clip Gallery  มีการจัดเก็บภาพกี่แบบ
ก. 2  แบบ
ข. 3  แบบ
ค. 4  แบบ
ง. 5  แบบ
9. ถ้าเราจะตัดบางส่วนของภาพที่แสดงในสไลด์ให้มีลักษณะตามที่เราต้องการ  เราเรียกว่าอะไร
ก. การ  Crop  ภาพ
ข. การใส่กรอบภาพ
ค. การตกแต่งสี  ClipArt
ง. ไม่มีข้อใดถูก
10. ถ้าต้องการลบองค์ประกอบที่ไม่ต้องการออกไปจะกดปุ่มใด
ก. Shift
ข. Delete
ค. Enter
ง. Tab

Ø      แบบฝึกหัดหลังเรียน  บทที่  7
คำสั่ง   จงทำเครื่องหมายกากบาท (X)  ทับหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
ก. PowerPoint สามารถสร้างกราฟได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องพึ่งโปรแกรมใด
ข. ในการสร้างกราฟใน PowerPoint จะต้องเรียกโปรแกรม Microsoft Graph
ค. Microsoft Graph เป็นโปรแกรมหลักสำหรับทำหน้าที่ในการสร้างกราฟ
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.
2. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบหลักของการแสดงกราฟใน PowerPoint
ก. แกน X และแกน Y
ข. Legend หรือคำอธิบาย
ค. Data Series หรือชุดของข้อมูล
ง. รูปแสดงกราฟแท่ง
3. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
ก. การจัดทำข้อมูลที่เป็นกราฟสถิติต่างๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องแก้ไขข้อมูลใหม่
ข. เมื่อทำการแก้ไขข้อมูลกราฟก็จะยังคงรูปแบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลงนอกเสียจากสร้างใหม่
ค. เมื่อทำการแก้ไขข้อมูลในช่องของตารางกราฟจะทำการเปลี่ยนแปลงรูปตามข้อมูลใหม่
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ค.
4. ข้อใดต่อไปนี้เป็นวิธีการดึงไฟล์จากโปรแกรมอื่นที่มีลักษณะเดียวกันมาไว้ใน PowerPoint
ก. Edit File…
ข. Copy File…
ค. Import File…
ง. Impost File…
5. ข้อใดต่อไปนี้คือการเลือกชนิดของกราฟ
ก. Chart Type…
ข. Chart Options…
ค. Chart Style…
ง. Chart Format…
6. รูปแบบชนิดของกราฟ แบบ Column มีลักษณะคล้ายข้อใดมากที่สุด
ก. แบบ Area
ข. แบบ Pie
ค. แบบ Line
ง. แบบ Bar
7. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวผิด
ก. PowerPoint สามารถตกแต่งกราฟได้
ข. PowerPoint สามารถใส่เส้นกำหนดกราฟได้
ค. PowerPoint สามารถกำหนดคำอธิบายกราฟได้
ง. PowerPoint สามารถกำหนดรูปภาพให้ปรากฏในแท่งกราฟได้
8. ในการเพิ่มสีสันให้กับกราฟ ทั้งลักษณะเส้น ความกว้างของเส้น และสีของรูปกราฟ สามารถเลือกได้ที่ใด
ก. Patterns
ข. Data Labels
ค. Option
ง. Edit
9. โดยปกติการสร้างแผนผังขององค์กรจะเริ่มต้นที่บุคลากรกี่ตำแหน่ง
ก. 2 ตำแหน่ง
ข. 3 ตำแหน่ง
ค. 4 ตำแหน่ง
ง. กี่ตำแหน่งก็ได้
10. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
ก. แผนผังสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ โดยที่ไม่ต้องพิมพ์ใหม่
ข. แผนผังสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ โดยที่ต้องพิมพ์ใหม่
ค. แผนผังสามารถปรับเปลี่ยนสไตล์ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนงาน
ง. แผนผังสามารถเปลี่ยนสไตล์ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนคน

Ø      แบบฝึกหัดหลังเรียน  บทที่  8
คำสั่ง   จงทำเครื่องหมายกากบาท (X)  ทับหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  คำสั่งเติมลักษณะพิเศษให้กับพื้นหลัง  ที่เรียกว่า Gradient  คือข้อใด
ก. การไล่โทนสี
ข. การกำหนดพื้นผิว
ค. การกำหนดลวดลาย
ง. การใช้ภาพเป็นพื้นหลัง
2.  การตกแต่งพื้นหลัง  โดยใช้ Presets  คือข้อใด
ก. ใช้สองสีในการไล่โทน
ข. ใช้สีเดียวไล่โทนความเข้มสี
ค. เลือกชื่อชุดสีจากสีที่กำหนดไว้
ง. เลือกลักษณะการไล่โทนสีตามความต้องการ
3.  หากต้องการให้พื้นหลังมีลักษณะเป็นลาย หินอ่อนต้องเลือกรูปแบบใด
ก. Texture
ข. Picture
ค. Pattern
ง. Gradient
4.  ข้อใดคือความหมายของ  Color Scheme
ก. โครงร่างสีภาพนิ่งที่ได้ออกแบบไว้แล้ว
ข. จานสีที่สามารถจะผสมสีได้ตามต้องการ
ค. ฟังก์ชั่นที่ต้องติดตั้งเพิ่ม เพื่อให้มีตัวเลือก
ง. แถบเครื่องมือที่มีไว้สำหรับการตกแต่งที่เกี่ยวข้องกับสีทั้งหมด
5.  ขั้นตอนตกแต่งพื้นหลังสไลด์ด้วย Slide Design  คือข้อใด
ก. ใช้คำสั่ง  Format>Background  แล้วเลือกรูปแบบที่ต้องการ
ข. Drag mouse  เลือกพื้นหลังที่ต้องการ  แล้วใช้คำสั่ง  Background
ค. Double click  ที่พื้นหลังจะปรากฏรายการให้เลือกรูปแบบพื้นหลัง
ง. Click mouse  ปุ่มขวาในพื้นที่ว่างของสไลด์แล้วเลือกคำสั่ง  Slide  Design
6.  ข้อใดให้ความหมายของ  Slide  master  ได้ถูกต้องที่สุด
ก. แผ่นสไลด์สำรองของงานนำเสนอ
ข. แผ่นสไลด์ที่เป็นแม่แบบของทุกๆ แผ่น
ค. แผ่นสไลด์ที่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้
ง. แผ่นสไลด์ที่ได้คัดลอกมาจากสไลด์อื่นๆ
7. ประโยชน์ของการสร้าง Slide Master  คือข้อใด
ก. ได้รูปแบบของสไลด์ที่มีความหลากหลาย
ข. การแก้ไขข้อมูลในสไลด์ไม่ขึ้นอยู่กับสไลด์อื่น
ค. ไดสไลด์ที่ตรงกับความต้องการใช้งานมากที่สุด
ง. อำนวยความสะดวกต่อการทำสไลด์ที่มีลักษณะเหมือนๆ กัน
8. Omit Background Graphics From Master  หมายถึงอะไร
ก. ไม่ใช้พื้นหลังกราฟิกจากต้นแบบ
ข. ใช้พื้นหลังกราฟฟิกจากต้นแบบ
ค. เปลี่ยนสีพื้นสไลด์ทุกๆ แผ่น
ง. เปลี่ยนสีพื้นเฉพาะสไลด์แผ่นที่กำลังทำงานอยู่
9. ข้อใดไม่ใช่โครงสร้างภาพนิ่งที่สามารถกำหนดเองได้
ก. Fill
ข. Accent
ค. Frame color
ง. Background
10. หากต้องการตกแต่งสไลด์จะเลือกคำสั่งใด
ก. Slide design
ข. Color schemes
ค. Design templates
ง. Animation schemes

Ø      แบบฝึกหัดหลังเรียน  บทที่  9
คำสั่ง   จงทำเครื่องหมายกากบาท (X)  ทับหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดคือประโยชน์ของการสร้างเทคนิคให้กับสไลด์มากที่สุด
ก. เพื่อสร้างงานพรีเซนเตชั่นให้ดีและประหยัดพื้นที่
ข. เพื่อสร้างงานพรีเซนเตชั่นให้เกิดประโยชน์ในการใช้สอย
ค. เพื่อสร้างงานพรีเซนเตชั่นดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ง. เพื่อสร้างงานพรีเซนเตชั่นมีความเล็กกะทัดรัด
2.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. PowerPoint สามารถกำหนดการเคลื่อนไหวให้กับวัตถุด้วยเทคนิคที่มีอยู่แล้วในโปรแกรม
ข. PowerPoint ใส่เอฟเฟคการเคลื่อนไหวได้เฉพาะกับข้อความ และภาพเท่านั้น
ค. เราสามารถกำหนดเวลาในการแสดงเอฟเฟคได้
ง. เราสามารถใส่เสียงประกอบการแสดงเอฟเฟคได้
3. การใส่เอฟเฟคเปลี่ยนหน้าสไลด์ควรทำงานในมุมมองใด
ก. Slide Sorter View
ข. Normal View
ค. Slide View
ง. Slide Show
4. ข้อใด คือ ความสามารถของคำสั่ง Animation Schemes   
ก. กำหนดเอฟเฟคให้กับแต่ละวัตถุในสไลด์ด้วยตัวเอง
ข. กำหนดเอฟเฟคให้กับแต่ละวัตถุในสไลด์ด้วยรูปแบบสำเร็จรูป
ค. กำหนดเอฟเฟคในการเปลี่ยนหน้าสไลด์
ง. กำหนดเอฟเฟคสร้างการเคลื่อนไหวให้กับกราฟ
5. ในการกำหนดเอฟเฟคให้กับข้อความโดยใช้คำสั่ง Hide After Animation หมายถึง
ก. เมื่อมีการแสดงครั้งต่อไปให้ซ่อนข้อความนั้น
ข. เมื่อมีการแสดงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปให้แสดงข้อความนั้น
ค. เมื่อมีการแสดงให้ทำการซ่อนข้อความนั้น
ง. เมื่อมีการแสดงไม่ต้องทำอะไรกับข้อความนั้น
6. ในช่อง Animate Text การกำหนดคำสั่ง By Word หมายถึง
ก. แสดงข้อความในแต่ละหัวข้อทั้งหมดพร้อมกัน
ข. แสดงข้อความทีละคำ
ค. แสดงข้อความทีละตัวอักษร
ง. แสดงข้อความออกมาแบบบางมาเข้ม
7. หากต้องการให้กราฟแสดงกราฟออกมาในแต่ละกลุ่มก่อนแล้วจึงแสดงกราฟของกลุ่มต่อไปต้องใช้คำสั่งใด
ก. By Series
ข. By Category
ค. By Element in series
ง. By Element in Category
8.  ข้อใดคือการเชื่อมโยงไปยังสไลด์ก่อนหน้า
ก. Next Slide
ข. Previous Slide
ค. First Slide
ง. Last Slide
9. ในการกำหนดเอฟเฟคเอง จะต้องกำหนดการเริ่มต้นให้เอฟเฟคของวัตถุทำงานได้ที่ใด
ก. Add Effect
ข. Start
ค. Direction
ง. Speed

10. ข้อใดต่อไปนี้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับเทคนิคในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์
ก. Animation Schemes
ข. Custom Animation
ค. Slide Show
ง. Slide Transition

Ø      แบบฝึกหัดหลังเรียน  บทที่  10
คำสั่ง   จงทำเครื่องหมายกากบาท (X)  ทับหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดคือประโยชน์ของ Summary Slide
ก. การรวบรวมหัวข้อของแต่ละสไลด์ที่เราได้กำหนดลงในสไลด์แผ่นเดียว
ข. เป็นการสรุปการจัดสไลด์ที่จะนำเสนอในรูปแบบเดียวกัน
ค. เป็นการเอาหัวข้อสไลด์มาเรียงกันเพื่อที่จะใช้เก็บวัตถุในที่ใช้แสดงในสไลด์
ง. เป็นการสรุปครั้งสุดท้ายของสไลด์หลังจากที่ได้นำเสนอไปเรียบร้อยแล้ว
2. การกระทำที่ทำให้ผู้บรรยายสามารถจดจำลำดับการบรรยายและควบคุมเนื้อหาได้ เรียกว่า
ก. การสร้าง Summary Slide
ข. การสร้างบันทึกย่อ
ค. การกำหนดสถานะของสไลด์
ง. การควบคุมสไลด์
3. Handout master หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
ก. ต้นแบบมุมมอง
ข. ต้นแบบร่างการนำเสนอ
ค. ต้นแบบเอกสารประกอบคำบรรยาย
ง. ต้นแบบหน้าจอการแสดง
4. Print What หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
ก. การกำหนดลำดับของสไลด์ที่ต้องการจะพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ที่ตั้งค่าไว้
ข. การกำหนดจำนวนชุดของเอกสารที่ต้องการจะพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ที่ยังไม่ได้ตั้งค่า
ค. การกำหนดมาตรฐานของการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ชนิดต่างๆ ที่ยังไม่ได้ตั้งค่า
ง. การเลือกสิ่งที่ต้องการพิมพ์และกำหนดคุณสมบัติของเอกสารประกอบการบรรยาย
5. Print Range หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
ก. การกำหนดลำดับของสไลด์ที่ต้องการจะพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ที่ตั้งค่าไว้
ข. การกำหนดจำนวนชุดของเอกสารที่ต้องการจะพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ที่ยังไม่ได้ตั้งค่า
ค. การกำหนดมาตรฐานของการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ชนิดต่างๆ ที่ยังไม่ได้ตั้งค่า
ง. การเลือกสิ่งที่ต้องการพิมพ์และกำหนดคุณสมบัติของเอกสารประกอบการบรรยาย
6. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้อยู่ในกลุ่มตัวเลือก Print Range
ก. Current Slide
ข. Custom Show
ค. Scale to fit page
ง. Selection
7. ช่อง Copies สามารเลือกลักษณะการเรียงพิมพ์ได้กี่แบบ
ก. 1 แบบ
ข. 2 แบบ
ค. 3 แบบ
ง. 4 แบบ
8. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
ก. การตั้งค่าเวลาในการบรรยายสไลด์เพื่อช่วยนับเวลาในการนำเสนอของสไลด์ในแต่ละแผ่น
ข. การตั้งค่าเวลาในการบรรยายสไลด์เพื่อช่วยนับเวลาที่วัตถุในการสไลด์ในขณะที่ปรากฏที่จอภาพ
ค. การตั้งค่าเวลาในการบรรยายสไลด์เพื่อช่วยลดขนาดของไฟล์งานนำเสนอให้มีขนาดเล็ก
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ค.
9. การอัดเสียงประกอบคำบรรยาย ถ้ากำหนดให้มีคุณภาพของเสียงใกล้เคียงกับต้นฉบับผลลัพธ์คือ
ก. เสียงที่ได้ออกมาหลังจากการอัดมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่าเดิมเนื่องการคอมพิวเตอร์ช่วย
ข. เสียงที่ได้ออกมาหลังจากการอัดไม่เปลี่ยนแปลงแต่มีขนาดการเก็บไฟล์ที่เล็กกว่า
ค. เสียงที่ได้ออกมาหลังจากการอัดเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยและมีขนาดการเก็บไฟล์ที่ใหญ่กว่า
ง. ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงคุณภาพที่ได้เท่าเดิมและไม่มีผลต่อการเก็บข้อมูล
10. ข้อใดกล่าวผิด
ก. การแสดงสไลด์โดยใช้คอมพิวเตอร์นั้น เราสามารถทำได้โดย Slide Show>View Show
ข. ในขณะที่แสดงสไลด์อยู่นั้นไม่สามารถกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงได้เอง นอกเสียจากได้บันทึกไว้
ค. ในระหว่างที่แสดงสไลด์อยู่เราสามารถที่จะกระโดดข้ามไปยังแผ่นอื่นๆ ได้ตามที่เราต้องการ
ง. สามารถใช้ลูกศรที่เป็นตัวชี้ให้กลายเป็นปากกาขีดเส้นหรือเขียนข้อความบนแผ่นสไลด์ที่กำลังแสดงอยู่ได้

เฉลย
แบบทดสอบหลังเรียน  บทที่  6
1. ง      2. ค      3. ก      4. ก      5. ค      6. ง     7. ข      8. ข       9. ก     10. ข
แบบทดสอบหลังเรียน  บทที่  7
1. ง      2. ง      3. ข      4. ค      5. ก      6. ง     7. ง      8. ก       9. ค     10. ข
แบบทดสอบหลังเรียน  บทที่  8
1. ก      2. ค      3. ค      4. ข      5. ง      6. ข     7. ง      8. ก       9. ข     10. ก
แบบทดสอบหลังเรียน  บทที่  9
1. ค      2. ข      3. ง      4. ข      5. ค      6. ข     7. ข      8. ข       9. ข     10. ง
แบบทดสอบหลังเรียน  บทที่  10
1. ก      2. ข      3. ค      4. ง      5. ก       6. ค     7. ข      8. ข       9. ค     10. 

บทที่ 10 การนำเสนองาน

หลังจากที่ได้สร้างและตกแต่งสไลด์  และจัดองค์ประกอบต่างๆ  ในงานพรีเซนเตชันพร้อมแล้ว  ต่อไปก็ถึงเวลานำเสนองานพรีเซนเตชัน
10.1  การสร้าง  Summary  Slide
Summary  Slide  คือ  การรวบรวมหัวข้อของแต่ละสไลด์ที่ได้กำหนดลงในสไลด์แผ่นเดียว  ซึ่ง  Summary  Slide  เป็นบันทึกย่อที่ใช้เก็บข้อมูลที่ต้องการอ้างถึงในระหว่างการนำเสนอ  การสร้าง  Summary  Slide  ทำได้ดังนี้

1.       Click  mouse  ที่ปุ่ม  มุมมองปกติ  หรือ  ไอคอนตัวเรียงลำดับภาพนิ่ง  เพื่อเปลี่ยนมุมมองเป็น  Normal  View   หรือ  Slide  Sorter  View  ตามลำดับ  ในที่นี้ขอยกตัวอย่างโดยเลือก    Slide  Sorter  View 
2.       Click  mouse  เลือกสไลด์ที่ต้องการใส่หัวข้อนั้นลงใน  Summary  Slide  ในขณะเลือก  ให้กดปุ่มคีย์บอร์ด  <Shift>  ค้างไว้ด้วย  หรืออาจใช้วิธี  Drag  mouse  ให้ครอบคลุมสไลด์ที่ต้องการได้
3.       Click  mouse  ที่ปุ่ม  Summary  Slide  Button  จะเกิดสไลด์แผ่นใหม่ที่รวบรวมหัวข้อสไลด์แต่ละแผ่น  ซึ่งเราใช้สรุปประเด็นที่จะนำเสนอในงานพรีเซนเตชันนี้ได้
10.2   การสร้างบันทึกย่อ
                การสร้างบันทึกย่อจะช่วยให้ผู้บรรยายสามารถจดจำลำดับหัวข้อในการบรรยาย  และควบคุมเนื้อหารวมถึงเนื้อหาในการบรรยายได้เป็นอย่างดี




1.       Click  mouse  เลือกคำสั่ง  View>Notes  Page  (มุมมอง>หน้าบันทึกย่อ)  จะปรากฏแผ่นสไลด์อยู่ด้านบน  และกล่องข้อความสำหรับพิมพ์บันทึกย่ออยู่ด้านล่าง
2.       Click  mouse  ที่กรอบสี่เหลี่ยมด้านล่าง  แล้วพิมพ์ข้อความบันทึกย่อได้ตามต้องการ

   ในระหว่างที่เรากำลังนำเสนองานพรีเซนเตชันอยู่นั้น  เราสามารถเปิดข้อความบันทึกย่อเพื่อจะช่วยให้จดจำลำดับหัวข้อการบรรยายได้  โดย  Click  mouse  ปุ่มขวาและเลือกคำสั่ง  Speaker  Notes  จะแสดงหน้าต่างของข้อความบันทึกย่อ
10.3    การสร้างเอกสารประกอบการบรรยาย
                ในการนำเสนองานนั้น  จะต้องมีเอกสารประกอบการบรรยายสำหรับผู้ฟัง  ซึ่งเราสามารถใช้  PowerPoint จัดทำให้โดยอัตโนมัติ โดยกำหนดจำนวนสไลด์ที่จะพิมพ์ได้ว่าจะประกอบด้วย 2, 3 หรือ 6 แผ่นสไลด์อยู่ในหนึ่งหน้าเอกสาร ดังนี้

1.       Click  mouse เลือกคำสั่ง  View>Master>Handout  Master  (มุมมอง>ต้นแบบ>ต้นแบบเอกสารประกอบคำบรรยาย)  จะปรากฏแถบเครื่องมือ  Handout  Master (ต้นแบบเอกสารประกอบคำบรรยาย)
2.       Click  mouse  กำหนดรูปแบบเอกสารประกอบการบรรยาย  ดังนี้
§       พิมพ์  1  สไลด์ต่อหน้า
§       พิมพ์  6  สไลด์ต่อหน้า
§       พิมพ์  2   สไลด์ต่อหน้า
§       พิมพ์  9  สไลด์ต่อหน้า
§       พิมพ์  3  สไลด์ต่อหน้า
§       แสดงการจัดตำแหน่งของเค้าร่าง  เหมือนในมุมมอง  Outline
§       พิมพ์  4  สไลด์ต่อหน้า
§       แสดง/กำหนดเค้าโครงสำหรับใส่  วันที่  เลขหน้าสไลด์  ข้อความบนหัวสไลด์  และท้ายเอกสารประกอบคำบรรยาย
§       Close  Master  View  ปิด  Master  View
                เมื่อเราได้สร้างเอกสารประกอบการบรรยายเสร็จแล้ว  เราสามารถพิมพ์เอกสารประกอบการบรรยายนี้ให้กับผู้ฟังการบรรยายได้  โดยเอกสารที่พิมพ์ออกมานั้นจะมีรูปแบบตามที่เรากำหนดจากภาพตัวอย่างจะมีรูปแบบเท่ากับการพิมพ์  4  สไลด์ต่อหน้า  สำหรับการสั่งพิมพ์เอกสารประกอบการบรรยาย  จะขอกล่าวในตอนต่อไป

10.4  ตรวจสอบงานก่อนพิมพ์ด้วย  Print  Preview
                Print  Preview  เป็นการตรวจสอบสไลด์ที่เป็นเอกสารประกอบการบรรยายสำหรับผู้เข้าชม  และเอกสารบันทึกย่อที่รวมข้อสำคัญสำหรับวิทยากร  โดยจะแสดงผลลัพธ์ที่ได้อยู่บนหน้าจอเหมือนพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ทุกประการ  เพื่อให้เราสามารถตรวจสอบความถูกต้อง  และแก้ไขข้อผิดพลาดได้ก่อนสั่งพิมพ์จริง



1.       Click  mouse  ปุ่มไอคอน  Print  Preview  ในแถบเครื่องมือเพื่อเข้าสู่  Print  Preview
2.       เราสามารถดูรายละเอียดได้ด้วยการขยายหน้ากระดาษส่วนที่เราต้องการให้ใหญ่ขึ้นโดยเลื่อนไป  Click  mouse  บริเวณที่ต้องการ  ถ้าต้องการกลับไปดูข้อมูลแบบเต็มหน้ากระดาษก็ให้  Click  mouse  อีกครั้งหนึ่ง
สำหรับความหมายของปุ่มต่างๆ  ในแถบเครื่องมือ  Print  Preview  มีดังนี้



เมื่อเรา  Click  mouse  ปุ่ม  สามเหลี่ยมเล็กๆ  สีดำ  จากช่อง  Print  What  ก็จะแสดงรายการให้เราเลือกสิ่งที่ต้องการจะพิมพ์  โดยมีตัวเลือกต่างๆ  ดังนี้
ตัวเลือก
คำอธิบาย
Slide
Handout







Note  pages
Outline  View
ให้พิมพ์สไลด์
ให้พิมพ์เอกสารประกอบคำบรรยายสำหรับแจกผู้ฟัง  ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของการพิมพ์ที่อยู่ในกรอบ  Handouts  เพิ่มเติม  ดังนี้
     1  Slide  peer  page                       พิมพ์  1  สไลด์ใน  1  หน้า
     2  Slide  peer  page                       พิมพ์  2  สไลด์ใน  1  หน้า
     3  Slide  peer  page                       พิมพ์  3  สไลด์ใน  1  หน้า
     4  Slide  peer  page                       พิมพ์  4  สไลด์ใน  1  หน้า
     6  Slide  peer  page                       พิมพ์  6  สไลด์ใน  1  หน้า
     9  Slide  peer  page                       พิมพ์  9  สไลด์ใน  1  หน้า
ให้พิมพ์บันทึกย่อสำหรับผู้บรรยาย
พิมพ์ข้อความในมุมมอง  Outline


นอกจากนี้เรายังสามารถกำหนดค่าต่างๆ  ก่อนที่จะสั่งพิมพ์ได้  โดยกำหนดตัวเลือกดังนี้
ตัวเลือก
คำอธิบาย
Hander  aqnd  Footer
Color/Grayscale
Scale  to  Fit  Paper
Frame  Slide
Print  Order
ใส่ข้อมูลในหัวกระดาษ  และท้ายกระดาษ
กำหนดโหมดสีของสไลด์  เป็นภาพสีหรือขาวดำ
กำหนดให้ขนาดสไลด์ขยายพอดีกับหน้ากระดาษ
กำหนดให้มีเส้นกรอบล้อมรอบสไลด์
การวางลำดับของสไลด์  คือ  Horizonal  พิมพ์จัดวางลำดับไปทางแนวนอน  ส่วน  Vertical  พิมพ์จัดวางลำดับไปทางแนวตั้ง


10.5  งานพรีเซนเตชั่นกับการพิมพ์
                เมื่อได้เตรียมตัวพร้อมแล้ว  หากต้องการพิมพ์งานพรีเซนเตชั่นออกทางเครื่องพิมพ์โปรแกรม  PowerPoint  ช่วยพิมพ์ส่วนต่างๆ  ได้  ไม่ว่าจะเป็นสไลด์  บันทึกย่อสำหรับผู้พูด  หรือเอกสารสำหรับพิมพ์แจกให้ผู้ฟัง  ซึ่งในการพิมพ์เอกสารต่างๆ  เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะใช้ประกอบในการนำเสนองานพรีเซนเตชั่น  โดยการสั่งพิมพ์  มีขั้นนตอนดังนี้



1.       เลือกคำสั่ง  File>Print  (แฟ้ม>พิมพ์)  หรือกดปุ่ม  <Ctrl+P>
2.       เลือกชนิดเครื่องพิมพ์  ซึ่งต้องตรงกับเครื่องพิมพ์ที่ต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
3.       แสดงกลุ่มตัวเลือก  Print  range  ให้เรากำหนดลำดับของสไลด์ที่ต้องการจะพิมพ์
§       All                                  พิมพ์สไลด์ทั้งหมด
§       Current  Slide           พิมพ์สไลด์ที่กำลังแสดงอยู่
§       Selection                      พิมพ์สไลด์ที่เลือกไว้
§       Custom  Show           พิมพ์สไลด์ที่เลือกไว้เป็นชุด
§       Slides                            พิมพ์สไลด์ตามลำดับที่ระบุไว้
4.       กำหนดจำนวนชุดเอกสารที่จะพิมพ์ในช่อง  Copies
5.       เลือกลักษณะการเรียงพิมพ์ได้  2  แบบ  คือ
-          พิมพ์แบบเรียงหน้าจนหมดทีละชุด
-          พิมพ์แบบที่ละหน้าตามจำนวนชุดที่สั่ง
6.       ในกรอบ  Print  What:  (สิ่งที่พิมพ์)  ให้เลือกสิ่งที่ต้องการสั่งให้พิมพ์จากช่องรายการ  โดยสามารถดูภาพตัวอย่างได้จากหัวข้อที่ผ่านเรื่องมา  “ตรวจสอบงานก่อนพิมพ์ด้วย  Print  Preview
§       Slide                              ให้พิมพ์สไลด์
§       Note  Pages                 ให้พิมพ์บันทึกย่อสำหรับผู้บรรยาย
§       Handout                      ให้พิมพ์เอกสารประกอบคำบรรยายสำหรับแจกผู้ฟังซึ่งจะต้องกำหนด
                                        คุณสมบัติของการพิมพ์ที่อยู่ในกรอบ  Handouts  เพิ่มเติมดังนี้
Slides  per  page       กำหนดจำนวนของสไลด์ที่จะพิมพ์อยู่ในหนึ่งหน้า
Order                            การวางลำดับของสไลด์  คือ  Horizontal  พิมพ์จัดวางลำดับไปทาง                                                แนวนอน  ส่วน  Vertical  พิมพ์จัดวางลำดับไปทางแนวตั้ง
§         Outline  View           พิมพ์ข้อความในมุมอง  Outline
7.       Click  mouse  ปุ่ม  OK  หลังจากนั้นก็จะได้เอกสารจากการพิมพ์
10.6  การตั้งเวลาในการบรรยายสไลด์
                ก่อนที่จะพรีเซนงานเราควรทำการซักซ้อมการบรรยายและนำเสนอสไลด์  เพื่อควบคุมเวลาในการนำเสนอให้เป็นไปอย่างเหมาะสม  โดยใช้  PowerPoint ช่วยนับเวลาในการนำเสนอของสไลด์ในแต่ละแผ่นและทั้งหมด

1.       เลือกคำสั่ง  Slide Show>Rehearse  (นำเสนอภาพนิ่ง>ทดสอบการใช้เวลา)  ปรากฏหน้าจอการแสดงสไลด์  ให้เราเริ่มบรรยายตามบทที่เตรียมไว้  โดยที่แถบคำสั่ง Rehearsal  จะช่วยเราในการนับเวลาของการนำเสนอได้  ดังนี้

10.7  การบันทึกเสียงประกอบการบรรยาย
                หากเราไม่ต้องนำเสนองานพรีเซนเตชั่นด้วยการบรรยายเสียงสดๆ  สามารถทำได้โดยการบันทึกเสียงการบรรยายประกอบกับการนำเสนอสไลด์เข้าด้วยกัน  เมื่อนำเสนองานอีกครั้งก็จะแสดงสไลด์พร้อมกับคำบรรยายได้สมบูรณ์
                ก่อนที่เราจะบันทึกเสียงคำบรรยายนั้น  เราต้องติดตั้งและทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกเสียงให้พร้อม  คือ  ซาวนด์การ์ด  ไมโครโฟน  และลำโพง  แล้วเริ่มบันทึกคำบรรยายได้ดังนี้



1.       เลือกคำสั่ง  Slide  Show>Record  Narration  (นำเสนอภาพนิ่ง>บันทึกคำบรรยาย)
2.       จะแสดงหน้าจอของการบันทึกคำบรรยาย  ซึ่งแสดงข้อมูลต่อไปนี้
§       Quality:                                      คุณภาพของเสียง
§       Disk  use:                                   พื้นที่ดิสก์ที่ใช้บันทึกต่อวินาที
§       Free  disk  space:                    พื้นที่ว่างบนดิสก์
§       Max  record  time:                 เวลาที่สามารถทำการบันทึกได้มากที่สุด
3.       Click  mouse  ที่ปุ่ม  Set Microphone Level…  เพื่อเข้าสู่หน้าต่างของการปรับระดับความดังของเสียงจากไมโครโฟน  ใช้เมาส์เลื่อนสไลด์เพื่อปรับระดับความดังของสียง  แล้ว  Click  mouse  ที่ปุ่ม  OK
4.       Click  mouse  ที่ปุ่ม  Change Quality…  เพื่อเข้าสู่หน้าต่างสำหรับการปรับคุณภาพของเสียง  ซึ่งมีตัวเลือกดังนี้
§       Name:  กำหนดคุณภาพในการบันทึกเสียง  ประกอบด้วยตัวเลือก
        CD Quality                          จะมีคุณภาพเสียงดีที่สุด (ระดับเสียงจากซีดี)
        Radio Quality                      จะมีคุณภาพเสียงอยู่ในระดับกลาง (ระดับเสียงจากวิทยุ)
        Telephone Quality             จะมีคุณภาพเสียงต่ำ (ระดับเสียงจากโทรศัพท์)
§       Format:  รูปแบบไฟล์เสียงที่ใช้ (โดยปกติใช้แบบ PCM ก็ได้)
§       Attributes:  กำหนดระดับคุณภาพเสียง  คือ  สเตอริโอ/โมโน,  ความถี่เสียง  และขนาดการบันทึกข้อมูลที่  8  บิต/16  บิต  ซึ่งค่าเหล่านี้จะมีผลต่อขนาดของไฟล์เสียงที่ได้ (ถ้าเรากำหนดบันทึกเสียงให้ใกล้เคียงต้นฉบับ  ไฟล์เสียงที่ได้จะมีขนาดใหญ่กว่า)
เมื่อกำหนดค่าต่างๆ  เสร็จแล้วให้  Click  mouse  ปุ่ม  OK
5.       Click  mouse  ปุ่ม  Browse…  เพื่อกำหนดตำแหน่งที่ใช้เก็บไฟล์เสียงที่ได้จากการบันทึก
6.       เนื่องจากปกติเสียงที่บันทึกไว้จะถูกเก็บรวมไว้ในไฟล์งานพรีเซนเตชั่น  หากไฟล์มีขนาดใหญ่มากๆ  จะทำให้ไฟล์เสียได้  ดังนั้น  Click  mouse  เลือก ถูก  Link narrations in:  เพื่อบันทึกเสียงแยกเก็บไว้เป็นไฟล์ของสไลด์ในแต่ละแผ่น  และเราสามารถซ่อมเสียงที่บันทึกแยกออกไปได้สะดวกยิ่งขึ้น
Click  mouse  ปุ่ม  OK  ก็จะปรากฏหน้าจอของการนำเสนอสไลด์ซึ่งโปรแกรมจะเริ่มบันทึกเสียง  และให้เราพูดบรรยายนำเสนองานได้  ในระหว่างที่บันทึกอยู่นั้นเราสามารถหยุดการบันทึกเสียงไว้ชั่วขณะ  โดยการ  Click  mouse  ปุ่มขวา  และเลือกคำสั่ง  Pause  Narration


1.       เมื่อบันทึกเสียงทุกสไลด์แล้ว  จะแสดงข้อความให้ทราบว่าคำบรรยายได้ถูกบันทึกไว้กับแต่ละสไลด์แล้ว  และให้เรายืนยันว่าจะบันทึกกากำหนดเวลาสไลด์ด้วยหรือไม่  ให้  Click  mouse  ปุ่ม  Save
2.       แสดงไอคอนให้ทราบว่าเป็นสไลด์ที่ได้บันทึกเสียง  และเมื่อเรานำเสนองานพรีเซนเตชั่นก็จะแสดงทั้งภาพ  และเสียงเหมือนกับที่ได้บันทึกไว้อย่างสมบูรณ์
10.8  การนำเสนองานพรีเซนเตชั่น
                เมื่อเราได้สร้าง  และเตรียมงานพรีเซนเตชั่นไว้เรียบร้อยแล้ว  ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการนำเสนองานพรีเซนเตชั่น  โดยการควบคุมการแสดงผลหน้าจอในขณะทำการพรีเซน  เช่น  การใช้ปากกา  การเปลี่ยนไปยังสไลด์แผ่นที่ต้องการ
1.  การแสดงสไลด์ด้วยมุมมอง  Slide  Show
                การแสดงสไลด์โดยใช้คอมพิวเตอร์นั้น  เราสามารถทำได้ง่ายๆ  ดังนี้  เลือกคำสั่ง  Slide  Show>View  Show  (นำเสนอภาพนิ่ง>ชมการนำเสนอ)  หรือ  Click  mouse  ที่ปุ่มไอคอน  การนำเสนอภาพนิ่ง




2.  การเปลี่ยนแผ่นสไลด์ในขณะนำเสนอ
                ในขณะแสดงสไลด์อยู่นั้น  เราสามารถกำหนดว่าจะเปลี่ยนสไลด์ไปยังแผ่นใดก็ได้ดังนี้
เปลี่ยนเป็นแผ่นถัดไป  (Next) /  แผ่นก่อนปัจจุบัน (Previous)



การเปลี่ยนสไลด์ที่ต้องการจากหัวเรื่อง
                ในระหว่างนำเสนองานพรีเซนเตชั่นอยู่นั้น  อาจจะมีบางครั้งที่เราต้องการบรรยายอ้างอิงถึงเนื้อหาที่ไม่อยู่ในลำดับที่ว่างไว้  เราสามารถกระโดดข้ามไปยังสไลด์ที่ต้องการ  ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น  ดังนี้



3. การใช้ลูกศรและปากกาเน้นจุดสำคัญ
                ในปกติเราจะใช้ลูกศรเป็นตัวชี้ประกอบการบรรยาย  แต่ถ้าเราต้องการจะขีดเขียนข้อความหรือรูปต่างๆ เพื่อเน้นส่วนที่กำลังนำเสนออยู่ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น  โดยการเปลี่ยนตัวชี้ให้เป็นปากกาได้ดังนี้

ถ้าต้องการเปลี่ยนสีปากกา
                ให้  Click  mouse  ปุ่มขวาที่จอภาพขณะแสดงสไลด์  เลือก  Pointer Option>Pen Color>เลือกสีปากกา
(เลือกตัวชี้>สีปากกา>เลือกสีปากกา)
4.  การออกจาก  Slide Show
                การออกจากการแสดงสไลด์ในมุมมอง  Slide Show  ทำได้ง่ายๆ  คือกดปุ่มคีบอร์ด <Esc>  หรือ  Click  mouse ปุ่มขวาแล้วเลือก  End Show

สรุปท้ายบท
                บทสุดท้ายนี้เป็นการนำเสนองาน  จัดว่าเป็นเรื่องหนึ่ง  ที่ผู้นำเสนองานจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องการเตรียมตัว  การสร้างเอกสารประกอบการบรรยาย  และรู้วิธีการนำเสนอที่สามารถดำเนินเรื่องไปยังสไลด์ในหน้าต่าง  รวมทั้งการเน้นจุดสำคัญในเนื้อหาของสไลด์ที่กำลังบรรยายให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น