วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 6 Clip Gallery แลการตกแต่งภาพในสไลด์

ในการสร้างงานพรีเซนเตชั่น  ภาพจัดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญหรับการใช้ตกแต่งสไลด์  เพราะการใช้ภาพที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับงานพรีเซนเตชั่น  และยังช่วยสื่อสารประเด็นที่ต้องการเน้นกับผู้ชมได้ด้วย
6.1  งานพรีเซนเตชั่นกับ  Clip  Gallery
                Clip  Gallery  เป็นโปรแกรมที่มีหน้าที่จัดเก็บภาพต่างๆ  สำหรับนำมาใช้ตกแต่งงานที่สร้างโดยเมื่อติดตั้ง Office  จะมีโปรแกรม  Clip  Gallery  ติดตั้งมาด้วย  สามารถนำไฟล์ภาพใน  Clip  Gallery  ที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นหมวดหมู่มาใช้ตกแต่งสไลด์ได้  นอกจากนั้นอาจสร้างภาพมาใช้เอง  หรือนำภาพจากแหล่งอื่นมาใช้งานโดยจัดเก็บไว้ใน  Clip  Gallery
สำหรับภาพนั้นจะมี  2  รูปแบบ  ดังนี้
                ภาพกราฟฟิกแบบ Vector  เป็นภาพที่เกิดจากการวาดเส้นตรง  เส้นโค้ง  รูปทรงเรขาคณิต และอักษร  โดยภาพชนิดนี้ถูกจัดเก็บในลักษณะการประมวลผลเป็นสูตรคณิตศาสตร์  ได้แก่  ไฟล์ฟอร์แมต  .wmf  (Microsoft  Windows Metafile)
                ภาพกราฟฟิกแบบ Raster  คือภาพที่สแกนมาจากเครื่องสแกน  และภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอลโดยภาพจะประกอบไปด้วยจุดเล็กๆ  ได้แก่  ไฟล์ฟอแมต  .bmp  (Bitmap),  .cgm  (Computer  Graphic  Metafile),  .gif  (Graphics  Interchange  Format),  .png  (Portable  Network  Graphics)
6.2  การแทรกภาพจาก ClipArt
                ClipArt  เป็นภาพในลักษณะของลายเส้น  ที่โปรแกรมได้จัดเตรียมไว้ให้เราเรียกใช้ได้  โดยจะมีขนาดที่เล็ก  และทำให้ไฟล์งานพรีเซนเตชั่นของเราไม่ใหญ่จนเกินไป
1.       เลือกคำสั่ง Insert>Picture>Clip Art (แทรก>รูปภาพ>ภาพตัดปะ)  หรือ  Click  mouse  ปุ่มไอคอน  ภาพตัดปะ  จากนั้นจะปรากฏหน้าจอ  Insert  ClipArt  ที่ใช้สำหรับจัดการกับภาพ
2.        Click  mouse  ปุ่ม  Search  เพื่อเปิดดูภาพที่มีอยู่ใน  Clip  Gallery  ทั้งหมด  หรือพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับภาพที่เราต้องการค้นหาในช่อง  Search  Text  และ  Click  mouse  ปุ่ม  Search   เพื่อค้นหาภาพนั้น
3.       Click  mouse  เลือกรูปภาพที่ต้องการนำไปใช้
4.       Clip  Art  ที่เลือกจะถูกวางลงในสไลด์
5.       Click  mouse  ปุ่ม  X  เพื่อปิด  Clip  Gallery  และเราจะพบ  Clip  Art  ที่เราเลือกวางอยู่ในสไลด์
6.3  การแทรกภาพจากไฟล์
            นอกจากการใช้ภาพจาก  ClipArt  สามารถนำไฟล์ที่เก็บเป็นไฟล์มาใช้ได้เลย  ซึ่งอาจเป็นภาพที่ได้จากการถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล  หรือโดยการสแกนเข้ามาก็ได้  โดยใช้คำสั่ง  Insert>Picture>From File  (แทรก>รูปภาพ>จากแฟ้ม)
1.       เลือกคำสั่ง  Insert>Picture>From File  (แทรก>รูปภาพ>จากแฟ้ม)  หรือ Click  mouse  ปุ่มไอคอน  รูปภาพ  จากแถบเครื่องมือ  Drawing
2.       Click  mouse  เลือกตำแหน่งเก็บไฟล์ภาพที่ต้องการในกรอบ  Look  in  (มองหาใน)
3.       Click  mouse    เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ  หากต้องการแทรกภาพภาพจำนวนหลายภาพในครั้งเดียวกัน   ให้เรากด  <Ctrl>+Click  mouse  เลือกภาพต่างๆ  ที่ต้องการจะแทรกลงในสไลด์
4.       Click  mouse  ปุ่ม  Insert  ภาพที่เลือกไว้ถูกวางอยู่ในสไลด์
6.4  การปรับแต่ง  ClipArt  และภาพจากไฟล์
                ภาพ  ClipArt  ที่นำมาตกแต่งสไลด์และถูกจัดเป็นวัตถุ  ซึ่งสามารถปรับแต่งขนาด  ขยาย  จัดเรียง  และหมุน  ClipArt  ได้ด้วยวิธีเดียวกับที่ใช้จัดการวัตถุต่างๆ  ดังที่กล่าวมาแล้วในบท  “การวาดและการทำงานกับวัตถุ”  โดยจะมีแถบเครื่องมือ  Picture  สำหรับปรับแต่ง  ClipArt  ซึ่งสามารถสั่งแสดงได้โดยการ  View>Toolbars>Picture  (มุมมอง>แถบเครื่องมือ>รูปภาพ)  หรือ  Click  mouse  ปุ่มขวาที่  ClipArt  และเลือก  Show  Picture  Toolbar  (ถ้าต้องการซ่อนแถบเครื่องมือนี้ให้เลือกคำสั่ง  Hide  Picture  Toolbar  แทน)
ในแถบเครื่องมือ  Picture  จะประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ  ที่ใช้สำหรับการตกแต่งภาพ  ClipArt  ดังนี้
1.  การตกแต่งสี  ClipArt
                ผู้ใช้สามารถที่จะเลี่ยนสีภาพ  ClipArt  ให้ดูกลมกลืนกับองค์ประกอบอื่นๆ  ในสไลด์ได้  (ทำได้เฉพาะภาพแบบ  Vector  เท่านั้น)

1.       Click  mouse  ที่  ClipArt
2.       Click  mouse  ปุ่มไอคอน  ตกแต่งด้วยสี  บนแถบเครื่องมือ  Picture  (รูปภาพ)  จะปรากฏหน้าต่าง  Recolor  Picture
3.       Click  mouse  เลือกสีที่ต้องการเปลี่ยน
4.       ให้เลือกสีใหม่ที่ต้องการ
5.       Click  mouse  ปุ่ม  OK   ClipArt   ที่เลือกจะมีสีเปลี่ยนไป
2.  การปรับแต่งโหมดสีของภาพ
                สามารถทำการตกแต่ง  ClipArt  ให้อยู่ในลักษณะพิเศษที่โหมดภาพแบบต่างๆ  โดยใช้เครื่องมือปรับรูปแบบการแสดงภาพ  ที่อยู่ในแถบเครื่องมือ  Picture  ซึ่งเป็นการปรับแต่งโหมดสีของ  ClipArt  (ใช้ได้ทั้งกับภาพแบบ  Vector และ Raster)

การแต่งสี  ClipArt  แบบ  Grayscale
การแต่งสี  ClipArt  แบบ  Black  &  White
การแต่งสี  ClipArt  แบบ  Washout
3.  การปรับความสว่างและความคมชัดของภาพ
                การปรับความสว่างและความคมชัดนี้  สามารถปรับได้ทั้งภาพ  Vector และ Raster
1.        Click  mouse  เลือก  ClipArt
2.       บนแถบเครื่องมือ  Picture  ให้  Click  mouse
ปุ่ม เพิ่มความสว่าง หรือ  ลดความสว่าง  เพื่อเพิ่ม / ลดความสว่างของ  ClipArt
ปุ่ม  เพิ่มความคมชัด  หรือ  ลดความคมชัด  เพื่อเพิ่ม / ลดความคมชัดของ  ClipArt
4.  การตัดภาพบางส่วน
                เราสามารถตักบางส่วนของภาพที่แสดงในสไลด์ให้มีลักษณะตามที่เราต้องการได้  (เราเรียกว่า  การ  Crop  ภาพ)
1.        Click  mouse  เลือกภาพที่ต้องการ  crop
2.       Click  mouse  ปุ่มไอคอน  Crop  ที่แถบเครื่องมือ Picture  (แถบเครื่องมือรูปภาพ)  ตัวชี้จะเปลี่ยนเป็น ลูกศรสีขาววางอยู่บนเครื่องมือ  Crop
3.       เลื่อน  ลูกศรสีขาววางอยู่บนเครื่องมือ  Crop   ไปยังจุดใดๆ  ที่กรอบของภาพ  ตัวชี้จะเปลี่ยนเป็น  เครื่องมือ  Crop  ไม่มีลูกศรสีขาว  จากนั้น  Drag  mouse  เพื่อตัดภาพให้เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการ  (ขณะตัดภาพตัวชี้จะเปลี่ยนเป็นไปตามมุม/ด้านที่ตัด)
5.  การใส่กรอบและตกแต่งพื้นหลังของภาพ
                เราสามารถใส่กรอบและเติมสีพื้นหลังให้กับภาพ  เพื่อทำให้ภาพดูเด่นขึ้นเมื่อวางภาพบนสไลด์  (การใส่กรอบให้กับภาพนี้เราสามารถทำได้ทั้งภาพ  Vector และ Raster)
นอกจากการเน้นโดยใส่กรอบภาพ  เราสามารถเน้นภาพโดยตกแต่งกรอบด้วยลักษณะของเส้นและกำหนดสีพื้นหลัง (สำหรับการตกแต่งสีกรอบภาพทำได้กับภาพแบบ  Vector และ Raster  แต่การาตกแต่งสีพื้นหลังของภาพนั้นเราตกแต่งได้เฉพาะกับภาพแบบ  Vector เท่านั้น  โดยจะไม่มีผลอะไรกับภาพแบบ  Raster)
1.       Click  mouse  เลือกภาพ
2.       Click  mouse  ปุ่มไอคอน  จัดรูปแบบของภาพ  ในแถบเครื่องมือ  Picture  (รูปภาพ)
3.       Click  mouse    แทบ  Colors  and  Lines  (สีและเส้น)
4.       ในหัวข้อ  Lines  ให้กำหนดลักษณะของเส้นกรอบได้  ดังนี้
Dashed                 แสดงเป็นเส้นประ
Color                   กำหนดสีเส้น
Style                     กำหนดรูปแบบเส้น
Weight                 กำหนดความหนาของเส้น
5.        ในหัวข้อ  Fill  (เติม)  ให้กำหนดสีพื้นหลังของภาพในช่อง  Color
6.       Click  mouse  ที่ปุ่ม  OK  ภาพที่เลือกจะถูกตกแต่งโดยการเน้นกรอบและสีพื้นหลัง
6.  ปรับพื้นหลังของภาพให้โปร่งใส
                การทำให้ภาพมีลักษณะที่โปร่งใสนั้นทำได้เฉพาะกับภาพแบบ  Raster  เท่านั้น  ซึ่งเหมาะกับภาพที่มีพื้นหลังเป็นสีพื้นเดียวกันต่อเนื่อง  เช่น    สีขาว  สีฟ้า  ซึ่งในกรณีที่สไลด์ของเราที่มีพื้นหลังที่มีลวดลาย  เมื่อเรานำภาพมาวางบนสไลด์สีพื้นหลังของภาพ  จะบดบังลวดลายของพื้นหลังสไลด์  กาทำให้พื้นหลังของภาพนั้นโปร่งใส  จะทำให้ภาพที่วางบนสไลด์ไม่บดบังลวดลายพื้นหลังของสไลด์  และทำให้ดูกลมกลืนกว่า
1.       Click  mouse  ที่ปุ่มไอคอน  กำหนดสีโปร่งใส  ในแถบเครื่องมือ  Picture  (รูปภาพ)
2.       Click  mouse  เลือกสีในภาพที่ต้องการทำให้โปร่งใส
3.       จะได้ภาพที่มีพื้นหลังที่โปร่งใสทำให้มองเห็นลวดลายพื้นหลังของสไลด์
7.  ยกเลิกการแก้ไข
                หากในขณะที่เราทำการตกแต่ง  ClipArt  อยู่นั้น  ได้ทำให้  ClipArt  เกิดความเสียหายโดยบังเอิญ  หรือต้องการกลับไปแก้ไขที่ภาพต้นแบบอีกครั้งหนึ่ง  ให้  Click  mouse  ที่ปุ่มไอคอน  ตั้งค่าหน้าใหม่  ในแถบเครื่องมือ  Picture  (แถบเครื่องมือรูปภาพ)
6.5  การแก้ไข  ClipArt
                ที่ผ่านมาเราได้ทำการแก้ไข  ClipArt  โดยรวม  สำหรับขั้นตอนต่อไปนี้เราจะแก้ไขในส่วนย่อยของภาพ  ClipArt  โดยก่อนการทำการแก้ไขและตกแต่งส่วนย่อยของ  ClipArt  เราจะเริ่มโดยการแตก  ClipArt  ออกเป็นองค์ประกอบย่อยๆ  ดังนี้
1.       เคลื่อนตัวชี้เมาส์มาวางบน  ClipArt  แล้ว  Click  mouse  ปุ่มขวา
2.       เลือกคำสั่ง  Grouping>Ungroup  (การจัดกลุ่ม>ยกเลิกการจัดกลุ่ม)
3.       Click  mouse  ที่ปุ่ม  Yes  เพื่อแยก  ClipArt  ออกเป็นองค์ประกอบย่อยๆ  เราจะเห็น  ClipArt  ถูกแยกออกเป็นส่วนประกอบย่อย
1.  เปลี่ยนสีองค์ประกอบย่อยใน  ClipArt
                เราสามารถแก้ไข  ClipArt  เฉพาะส่วนที่ต้องการได้  ดังตัวอย่างต่อไปนี้  เป็นการตกแต่งสีใน  ClipArt  บางส่วน
1.        หลังจากการใช้คำสั่ง  Ungroup  ทุกองค์ประกอบใน  ClipArt  จะถูกเลือกอยู่  ให้เรา  Click  mouse  ตรงพื้นที่ว่างของพื้นหลัง  ClipArt  เพื่อยกเลิกการเลือกองค์ประกอบเหล่ลือกานั้นก่อน
2.       Click  mouse  เลือกองค์ประกอบย่อยที่เราต้องการตกแต่งด้วยสี
3.       Click  mouse  เลือกเครื่องมือที่อยู่ในแถบเครื่องมือ  (รูปวาด)  และเลือกสีที่ต้องการ
4.       เราจะได้ภาพ  ClipArt  ที่ถูกตกแต่งด้วยสีตามที่เรากำหนด
2.  การตัดองค์ประกอบบางส่วนออกเพื่อให้ได้  ClipArt  ใหม่
                ในกรณีที่เราต้องการเฉพาะบางส่วนของ  ClipArt  ก็สามารถตัดส่วนที่ไมม่ต้องการออกไปได้
1.       กดคีย์  <Shift>+Click  mouse  ในระหว่างที่เลือกองค์ประกอบต่างๆ  ที่เราไม่ต้องการออกไปจาก  ClipArt
2.       กด  <Delete>  ลบองค์ประกอบที่ไม่ต้องการออกไป
3.  รวมองค์ประกอบย่อยให้  ClipArt  เป็นวัตถุเดียวกัน
                เมื่อเราได้แยก  ClipArt  เป็นองค์ประกอบย่อย  และตกแต่งแก้ไขในรายละเอียดของส่วนต่างๆ  เสร็จแล้ว  จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรวมองค์ประกอบย่อยเหล่านี้ให้กลับมาเป็นวัตถุเพียงชิ้นเดียว  เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย  ปรับขนาด  และปรับหมุนตามต้องการ
1.       Drag  mouse  ให้ครอบคลุมองค์ประกอบทั้งหมด
2.       วางตัวชี้เมาส์บน  ClipArt  และ  Click  mouse  ปุ่มขวา  เลือกคำสั่ง  Grouping>Group  (การจัดกลุ่ม>จัดกลุ่ม)  จะแสดง  ClipArt  เป็นวัตถุเพียงชิ้นเดียว
สรุปท้ายบท
                ในเนื้อหาบทเรียนนี้เป็นอีกบทหนึ่งที่ทำงานกับภาพ  แต่จะเป็นการนำไฟล์รูปภาพ  และคลิปอาร์ตเข้ามาตกแต่งเนื้อหา  ซึ่งทำให้สามารถตกแต่งสี  ความสว่าง  ความคมชัด  และตัดแต่ง  จัดวางตำแหน่งภาพให้เข้ากับงานนำเสนอได้ลงตัว  น่าสนใจมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น